วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

หากต้องการชมภาพ

หากต้องการชมภาพทั้งหมดสามารถชมได้ที่http://picasaweb.google.com/home

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทำงานวิชาอังกฤษได้นะ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Erythrina Fuscsa Lour.
ชื่อพ้อง: Erythrina glauca Willd.วงศ์ : Leguminosaeชื่อสามัญ : Chekring, Coral Bean, Purple Coral-Tree, Swamp
ชื่ออื่น : ทองหลางน้ำ ทองโหลง (ภาคกลาง) ทองหลางบ้าน (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบ เรียงสลับ มี 3 ใบย่อย มีหูใบ ใบย่อยรูปไข่หรือโค้ง ใบมีขน ดอกออกเป็นช่อ ดอกออกแบบสลับ ออกที่ยอด ดอกย่อยออกเป็นกระจุก กระจายกันตามก้านดอก ดอกสีแดงอิฐ มีใบประดับรูปไข่ ผลเป็นฝัก เปลือกแข็ง มีขนปกคลุม เมล็ดรูปโค้งแกมขอบขนาน สีน้ำตาลดำหรือดำ







ส่วนที่เป็นพิษ : เมล็ด สารพิษ : agglutinin, butyric acid, g-amino, erysodine, erysopine, erythraline, erythratidine, erythratine, d-acetyl-ornithineการเกิดพิษ : ถ้ารับประทานเมล็ดเข้าไป ทำให้คลุ้มคลั่ง คล้ายวิกลจริตการรักษา : -

อวกาศกับสิ่งที่หลอกลวง

20 กรกฎาคม ค.ศ.1969 วันที่มนุษยชาติบนโลกใบนี้ภาคภูมิใจกับการบุกเบิกครั้งสำคัญแห่งประวัตศาสตร์ในการพิชิตดาวนอกโลกได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ทุกคนต่างศรัทธาว่า "สหรัฐฯ" ชาติมหาอำนาจ สามารถพิชิตดวงจันทร์ได้จริง ๆ โดยที่ไม่ใครผู้ใดเกิดความแคลงใจแม้แต่นิดเดียว จวบจนมาถึงวันนี้ วันที่ 20 กรกฎาคม ปี ค.ศ.2004 ผ่านมาเป็นเวลา 35 ปีมาแล้ว กลับมีหลายคนตั้งแง่ข้อสงสัยที่มากมายว่า "สหรัฐฯส่งยานอพอลโล่ไปถึงดวงจันทร์จริงหรือ?" ซึ่งเป็นข้อคลางแครงใจที่เกิดมาจากกรณีที่สถานีโทรทัศน์ฟ็อกซ์ ของอเมริกา ได้นำเสนอสารคดีเรื่องหนึ่ง ในเชิงสงสัยว่า "เราเคยไปเหยียบบนดวงจันทร์จริงหรือไม่" และนับจากนาทีนั้นมา ความฉงนก็เกิดขึ้นกับทุกคน ต่างคล้อยตามไปกับข้อสงสัยที่พรั่งพรูออกมาจากสิ่งที่เรียกว่า "ความเป็นไปได้" ที่สารคดีตัวนี้นำเสนอออกมา "ในเมื่อ นีล อาร์มสตรอง เป็นมนุษย์คนแรกที่เอาเท้าเหยียบลงบนดวงจันทร์เป็นผู้แรก แล้ว...ใคร?...เป็นผู้บันทึกภาพเหตุการณ์ขณะที่ อาร์มสตรอง กำลังสัมผัสพื้นดวงจันทร์" "อวกาศไร้ซึ่งแรงโน้มถ่วง มวลธาตุ และอากาศ ทำไม? ธงชาติสหรัฐฯ ที่นำไปปักไว้บนผิวดวงจันทร์ถึงโบกสะบัดอย่างบ้าคลั่ง" "ทำไม? ในภาพถ่ายไม่มีดวงดาวหลุดออกมาให้เห็นซักดวง" 3 ประเด็นที่ชวนให้คนทั่วโลกต้องยกมือเห็นด้วยกับข้อสงสัยดังกล่าว ซึ่งเป็นความขัดแย้งกับเหตุผลของความเป็นไปได้ และด้วยเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้าล้ำยุคกว่าในปี 1969 เป็นสิ่งที่เพิ่มประเด็นแตกข้อสงสัยไปอีกมากมาย "ดวงอาทิตย์ เป็นแหล่งกำเนิดแสงแห่งเดียวบนดวงจันทร์ ทำไม? เงาของนักบินอวกาศ รวมไปถึงยานอพอลโล่ จึงมีเงาที่กระจายไปคนละทิศทาง" "บริเวณที่ยานลงจอดเป็นฝุ่น ทำไมรอยเท้าของอาร์มสตรอง จึงลึกจนเห็นเด่นชัดขนาดนั้น แต่ถ้าเป็นดินเหนียว หรือมีความชื้นก็ว่าไปอย่าง" "เมื่อมีฝุ่นมากอย่างนั้น ทำไม? ตัวยานและชุดนักบินจึงไม่เปื้อน" และสิ่งที่ผสมโรงแถมย้ำให้หลายคนต้องเปลี่ยนใจคิดว่าสหรัฐฯ จงใจอุปโลกการไปเยือนดวงจันทร์ครั้งนั้น ก็เพราะในช่วงห้วงเวลานั้นวงการสำรวจอวกาศของสหรัฐฯ ยังตามหลัง "โซเวียต" ชาติอุดมการณ์ที่ต่างกันสุดขั้วอยู่มาก ดังนั้นสหรัฐฯ จึงต้องทำทุกวิถีทางให้ก้าวหน้าและล้ำไกลกว่า และเมื่อภาพการไปเหยียบดวงจันทร์ที่เห็น เป็นเพียงการจัดฉากตบตาชาวโลก ก็ย่อมมีสิ่งที่ไม่เป็นธรรมชาติเกิดขึ้น ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นไปได้อย่างข้อสงสัยข้างต้น แต่...ข้อสงสัยทั้งหมดก็ได้รับคำตอบครบทุกข้อจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในภาพที่ถ่ายมาไม่มีดวงดาว เพราะเป็นขีดจำกัดของกล้องที่จะจับภาพเฉพาะที่สว่างในบริเวณใกล้ๆได้เท่านั้น ขณะที่บริเวณไกลๆ จะมืด ส่วนที่ธงปลิวสะบัดได้นั้น ตามปกติธงก็ตกนั่นแหล่ะ แต่เมื่อใช้มือไปกระทำให้มันสบัดที่ปลายธง เนื่องจากไม่มีแรงดึงดูด มันจะโบกสะบัดไปเรื่อยๆ ตามแรงเฉื่อย ส่วนรอยเท้าที่เห็นว่าชัดเจนเกินไป ก็เนื่องจากดวงจันทร์ประกอบด้วยฝุ่นที่สะสมทับถมมาเป็นล้านๆปี ไม่เคยเปลี่ยนแปลง เมื่อเหยียบลงไป ฝุ่นจะถูกกดและไม่เคลื่อนตัวหนี จึงเป็นรอยดังที่เห็น ส่วนยานที่ไม่มีร่องรอยนั้น หรือแม้กระทั่งชุดอวกาศ ความจริงยานและชุดก็เปื้อน และนักบินอวกาศก็ใช้เวลาอยู่นานในการปัดฝุ่นออก เมื่อหมดแล้วฝุ่นก็ไม่ไปไหน เหมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น การไปเยือนดวงจันทร์เมื่อ 35 ปี ก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือลวงก็ตาม มันก็เป็นสิ่งที่ทำให้การสำรวจอวกาศในปัจจุบันก้าวไปไกลกว่าดวงจันทร์แล้ว




เช้าวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 เวลา 9.00 น. ตามเวลาตะวันออกของสหรัฐฯ
ยานขนส่งอวกาศโคลัมเบียขององค์การนาซา ต้องพบกับอุบัติเหตุครั้งร้ายแรง
ที่สุดอย่างไม่คาดคิด ด้วยการระเบิดเป็นลูกไฟพวยพุ่งเหนือท้องฟ้าของสหรัฐฯ ขณะกำลังเดินทางกลับสู่พื้นโลก อุบัติเหตุครั้งนี้คร่าชีวิตนักบิน 7 คน ซึ่งมีนักบินชาวอิสราเอลหนึ่งคนรวมอยู่ด้วย ยานขนส่งอวกาศโคลัมเบียระเบิดเมื่อเวลา 16 นาทีก่อนที่จะได้ร่อนลงจอดที่ศูนย์อวกาศเคเนดีในฟลอริดาตามกำหนดการ โคลัมเบียเพิ่งจะกลับจากการปฏิบัติภารกิจในวงโคจรรอบโลกเป็นเวลานาน 16 วัน ซึ่งมีเป้าหมายในการทดลองทางวิทยาศาสตร์หลายสิบรายการ นักบินอวกาศบนยานขนส่งอวกาศโคลัมเบียประกอบด้วย ผู้บังคับการริค ฮัสแบนด์ นักบินนำร่องวิลเลียม แม็คคูล ผู้เชี่ยวชาญภารกิจ เดฟ บราวน์ คาลพานา ชอว์ลา ลอเรล คลาร์ค ผู้บังคับการสัมภาระ ไมค์ แอนเดอร์สัน และผู้เชี่ยวชาญสัมภาระ อิลาน รามอน ชาวอิสราเอล อุบัติเหตุในครั้งนี้ นับเป็นการสูญเสียนักบินอวกาศระหว่างปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งแรกนับจากการระเบิดของยานขนส่งอวกาศชาลเลนเจอร์ในปี 2529ภาพวิดีโอในการส่งยานเมื่อวันที่ 16 มกราคม เมื่อเวลา 81 วินาทีหลังจากขึ้นจากฐานส่ง มีชิ้นส่วนของโฟมที่เป็นฉนวนหุ้มถังเชื้อเพลิงภายนอกได้หลุดออกมาปะทะกับกระเบื้องกันความร้อนที่อยู่ทางด้านล่างของปีกซ้ายของยานขนส่งอวกาศโคลัมเบีย แต่เหตุการณ์นี้อาจไม่ใช่สาเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดกับโคลัมเบียก็ได้ เนื่องจากเคยมีเหตุการณ์ทำนองนี้กับยานขนส่งอวกาศแอตแลนติสเมื่อเดือนตุลาคม 2545 ซึ่งไม่ได้เกิดความผิดปกติใดๆ ซึ่งต่อมาวิศวกรของนาซาออกมาให้ความเห็นสนับสนุนว่า จากการวิเคราะห์น้ำหนักของโฟม ความเร็ว และมุมชนที่ดูจากภาพเคลื่อนไหวแล้ว เหตุการณ์นี้ไม่น่าจะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงแต่อย่างใด ขณะที่รายงานล่าสุดระบุว่าภาพถ่ายความละเอียดสูงจากฐานทัพอากาศที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ ที่ถ่ายภาพยานขณะผ่านเหนือน่านฟ้า ซึ่งเป็นเวลา 60 วินาทีก่อนหน้าที่ยานโคลัมเบียจะระเบิดแสดงว่าปีกซ้ายได้รับความเสียหายอย่างมาก นอกเหนือจากสาเหตุหลักที่ได้รับความสนใจมากที่สุดดังกล่าวแล้ว สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่อาจเป็นไปได้ คือ ยานโคลัมเบียเคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศในมุมที่ผิดปกติ ทำให้ยานมีความร้อนสูงเกินขีดจำกัด นอกจากนี้ยังมีความเห็นว่ายานอาจเสียหายจากการชนของ
สะเก็ดดาวหรือขยะอวกาศ โดยที่นาซากำลังติดตามเก็บเศษซากของยานที่ตกลงในสหรัฐฯ
และหวังว่าชิ้นส่วนเหล่านี้จะนำมาสู่หลักฐานที่ชี้ไปถึงสาเหตุของ
การระเบิดที่แท้จริงได้

เชิญชวนเขียน Toy Blog Blogสาธารณะ และ WEBBORAD

เชิญชวนเขียน Toy Blog Blogสาธารณะ และ WEBBORAD ตามสบาย
โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
ขอความกรุณางดใช้คำไม่สุภาพ
ขอบพระคุณครับ

เชิญชวนเขียน Toy Blog Blogสาธารณะ

เชิญชวนเขียน Toy Blog Blogสาธารณะ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
เพื่อนักเรียนบ.ด. ม.1/3 และบุคคลสาธารณะ
ขอความกรุณางดใช้คำไม่สุภาพแลคำที่มีลักษณะหมิ่นประมาทหรือผิดกฎหมาย